วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

อเมริกาเหนือ


                                 ทวีปอเมริกาเหนือ (North America)


  

 ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิประเทศ ทวีปอเมริกาเหนือ แบ่งได้เป็น 4 เขต ดังนี้
1. เขตเทือกเขาสูงทางด้านตะวันตก ได้แก่บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ประกอบด้วย ตั้งแต่บริเวณช่องแคบเบริงลงมาจนถึง ประเทศปานามา เทือกเขาที่สำคัญ ได้แก่ เทือกเขาอะแลสกา มียอดเขาแมกคินเลย์ สูง 6,194 เมตร สูงที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือ เทือกเขารอกกี เทือกเขาแคสเกด เทือกเขาเซียราเนวาดา เทือกเขาเซียรามาเดร เทือกเขาชายฝั่งแม่น้ำโคโลราโด ทำให้เกิดการกัดเซาะดินและหินที่เรียกว่า แกรนด์ แคนยอน ( Grand Canyon) ในรัฐอริโซนา
2. เขตที่ราบภาคกลาง เป็นเขตที่ราบใหญ่มี 6 เขต ดังนี้
-ที่ราบลุ่มแมกเคนซี เป็นที่ราบแคบ ๆ บริเวณลุ่มแม่น้ำ เขตหินเก่า อากาศหนาวเย็น
-ที่ราบแพรรีในแคนาดา บริเวณมณฑลมานิโตบา เป็นแหล่งปลูกข้าวสาลีที่สำคัญของโลก
-ที่ราบลุ่มทะเลสาบทั้ง 5 และลุ่มแม่น้ำเซนต์ลอเรนซ์ ทะเลสาบ ทั้ง 5 ได้แก่ ทะเลสาบสุพีเรีย ทะเลสาบมิชิแกน ฮูรอน อีรี และออนตาริโอ พื้นที่ที่เหมาะแก่การเพาะปลูก ประชากรหนาแน่น
-ที่ราบลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปี และมิสซูรี เป็นที่ราบดินตะกอน มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น แม่น้ำมิสซิสซิปปี สาขาสำคัญหลายสาย ได้แก่ มิสซูรี โอไฮโอ เทนเนสซี อาร์คันซอส์
-ที่ราบชายฝั่งอ่าวเม็กซิโกและมหาสมุทรแอตแลนติก ได้แก่ บริเวณทางด้านตะวันออก ของเทือกเขาแอปปาเลเชียน ลงไปทางใต้จนถึงชายฝั่งอ่าวเม็กซิโก เหมาะแก่การปลูกพืชเมืองร้อน
-ที่ราบที่สูงได้แก่บริเวณด้านตะวันออกของเทือกเขารอกกีเหมาะอย่างยิ่งที่จะปลูกข้าวสาลี
3. เขตหินเก่าแคนาดา ได้แก่บริเวณรอบอ่าวฮัดสันลงมาจนถึงทะเลสาบทั้ง 5 ประกอบด้วยหินเปลือกโลกเก่าแก่ มีอากาศหนาวเย็น ประชากรอาศัยอยู่เบาบาง
4. เขตภูเขาด้านตะวันออก เป็นภูเขาหินเก่า คือเทือกเขาแอปปาเลเชียน มียอดเขาสูงสุด ชื่อ มิตเชล




ลักษณะภูมิอากาศของทวีปอเมริกาเหนือ มีภูมิอากาศได้เป็น 11 เขตดังนี้

-เขตอากาศแบบป่าดิบชื้น ลักษณะอากาศมีฝนตกชุก อุณหภูมิสูง บริเวณชายฝั่งตะวันออกของเม็กซิโก ปานามา อเมริกาตอนใต้ พืชพรรณธรรมชาติเป็นแบบป่าเมืองร้อน
-เขตอากาศทุ่งหญ้าเขตร้อน ลักษณะอากาศฤดูร้อนกับฤดูหนาวแตกต่างกันมาก มีฝนตกปานกลาง บริเวณเม็กซิโก หมู่เกาะอินดิสตะวันตก พืชพรรณป่าโปร่งสลับกับทุ่งหญ้า เรียกว่าสะวันน่า
-เขตอากาศแบบทะเลทราย ลักษณะอากาศฤดูร้อนร้อนจัด ปริมาณฝนน้อย บริเวณภาคตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา และภาคเหนือของเม็กซิโก พืชพรรณเป็นพวกตะบองเพชรและไม้หนาม      
-เขตอากาศเขตทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย ลักษณะอากาศกึ่งแห้งแล้ง ฤดูหนาวอากาศหนาวจัด บริเวณทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา เม็กซิโก ซึ่งอยู่บริเวณชายขอบทะเลทราย พืชพรรณธรรมชาติเป็นทุ่งหญ้าสั้น เรียกว่า สเต็ปป์ (Steppe)
-เขตอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ลักษณะอากาศฤดูร้อน ร้อนแห้งแล้ง ฤดูหนาวอากาศอบอุ่นและมีฝนตก บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ตอนกลางรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐ พืชพรรณธรรมชาติ เป็นทุ่งหญ้าสลับกับป่าไม้พุ่มเตี้ย เรียกว่า ป่าแคระ
-เขตอากาศแบบชื้นกึ่งร้อน ลักษณะอากาศอบอุ่น ฝนตกตลอดปี บริเวณภาคกลาง ที่ราบชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก มี พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าไม้ผลัดใบชนิดใบกว้าง และป่าสน
-เขตอากาศแบบภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก ลักษณะอากาศฤดูร้อนอบอุ่น ฤดูหนาวไม่หนาวจัด มีฝนตกสม่ำเสมอตลอดปี ได้รับลมประจำตะวันตก ที่พัดมาจากมหาสมุทรแปซิฟิก บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกของสหรัฐอเมริกาและแคนาดา พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าไม้เขตอบอุ่น
-เขตอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นทวีป ลักษณะอากาศฤดูหนาวหนาว ฤดูร้อนอุณหภูมิปานกลางและมีฝนตกชุก บริเวณทะเลสาบทั้ง 5 ตอนใต้ของแคนาดา ตอนเหนือของสหรัฐอเมริกา พืชพรรณธรรมชาติมีทั้งป่าไม้ผลัดใบชนิดใบกว้าง และป่าไม้ไม่ผลัดใบ ชนิดมีใบแหลม
-เขตอากาศแบบไทกา ลักษณะอากาศหนาวจัดยาวนาน มีหิมะตก ส่วนฤดูร้อนมีระยะสั้นอากาศค่อนข้างเย็น บริเวณรัฐอะแลสกาของสหรัฐอเมริกา ภาคเหนือของประเทศแคนาดา พืชพรรณธรรมชาติ เป็นป่าสน และป่าไม้เนื้ออ่อน
-เขตอากาศแบบทุนดรา ลักษณะอากาศฤดูหนาว หนาวจัด บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรอาร์กติก รัฐอะแลสกา และแคนาดา ชายฝั่งของเกาะนิวฟันด์แลนด์ พืชพรรณธรรมชาติเป็นตะไคร่น้ำและมอส
-ลักษณะอากาศแบบทุ่งน้ำแข็ง ลักษณะอากาศหนาวจัดและมีน้ำแข็งปกคลุมตลอดปี บริเวณเกาะกรีนแลนด์ตอนกลาง พืชพรรณธรรมชาติไม่สามารถเจริญเติบโตได้เลย
-ลักษณะอากาศแบบที่สูง ลักษณะอากาศ อุณหภูมิ ความชื้น เปลี่ยนไปตามความสูงของพื้นที่ ยิ่งสูงมากอากาศจะยิ่งเย็นจัด จนกระทั่งถึงมีน้ำแข็งปกคลุมอยู่ตลอดเวลา บริเวณเทือกเขารอกกี ทางภาคตะวันตกของทวีป พืชพรรณธรรมชาติ ป่าสน
อาณาเขต
ทวีปอเมริกาเหนือตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือ ระหว่างละติจูดที่ 7 องศา 15 ลิปดาเหนือ ถึง 83 องศา 38 ลิปดาเหนือ และระหว่างลองจิจูดที่ 55 องศา 42 ลิปดาตะวันตก ถึง 172 องศา 30 ลิปดาตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับมหาสมุทรอาร์กติก น่านน้ำทางทิศเหนือได้แก่ ทะเลโบฟอร์ต อ่าวแบฟฟิน อ่านฮัดสัน ช่องแคบเดวิส และทะเลบราดอร์ พื้นแผ่นดินทางทิศเหนือประกอบด้วยเกาะหลายเกาะ ซึ่งคั้งอยู่ในเขตหนาว จึงมีค่าทางเศรษฐกิจน้อย เกาะขนาดใหญ่ ได้แก่ เกาะกรีนแลนด์ ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เกาะแบฟฟิน และเกาะวิกตอเรีย
ดินแดนที่อยู่ทางตอนเหนือสุดของทวีปอเมริกาเหนือ คือ แหลมมอริส เจซุป ทางตอนเหนือของเกาะกรีนแลนด์
ทิศตะวันออก ติดต่อกับมหาสมุทรแอตแลนติก เกาะที่สำคัญทางด้านนี้ ได้แก่ นิวฟันด์แลนด์ เบอร์มิวดา และหมู่เกาะบาฮามาส
ดินแดนทางตะวันออกสุดของทวีปอเมริกาเหนือ (ภาคพื้นทวีป) ได้แก่ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของชายฝั่งแลบราดอนในประเทศคานาดา
ทิศใต้ ติดต่อกับทวีปอเมริกาใต้ มีคลองปานามาเป็นแนวแบ่งเขตทวีป น่านน้ำทางทิศใต้ ได้แก่มหาสมุทรแปซิฟิกกับทะเลแคริบเบียนและอ่าวเม็กซิโก ในมหาสมุทรแอตแลนติก ส่วนดินแดนทางทิศใต้ได้แก่ หมู่เกาะอินดิสตะวันตก เกาะสำคัญมีคิวบา ฮิสแปนิโอลา จาเมกา เปอร์โตริกา
ดินแดนทางใต้สุดของทวีปอเมริกาเหนือได้แก่ บริเวณทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศปานามา
ทิศตะวันตก ติดต่อกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางตอนเหนือของทวีปมีช่องแคบเบริงคั่นระหว่างทวีปอเมริกาเหนือและทวีปเอเชีย น่านน้ำทางตะวันตกในมหาสมุทรแปซิฟิก ได้แก่ อ่าวอะแลสกา อ่าวแคลิฟอร์เนีย เกาะใหญ่ ได้แก่ เกาะแวนคูเวอร์ หมู่เกาะอาลิวเชียน และหมู่เกาะควีนชาร์ล็อต
ดินแดนทางตะวันตกสุดของทวีปอเมริกาเหนือ (ภาคพื้นทวีป) ได้แก่ แหลมปรินซ์ออฟเวลส์ มลรัฐอะแลสกา ประเทศสหรัฐอเมริกา

ภาษา
ใช้ภาษาอังกฤษ ภาษาสเปน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาฮาวาย ภาษาปาเปียแมนโตเป็นส่วนมาก
ประชากรและเชื้อชาติทวีปอเมริกาเหนือ
  จำนวนประชากรในทวีปอเมริกาเหนือมีประมาณ 436 ล้าน คน จัดว่ามีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของโลกรองจาก ทวีปเอเชีย และทวีปยุโรป
เมื่อศึกษาภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ ทวีปอเมริกาเหนือมีมนุษย์อาศัยอยู่แล้ว เชื่อกันว่าประชากรดั่งเดิมของทวีปอเมริกาอพยพมาจากทวีปเอเชีย โดยเดินทางจากคาบสมุทรชุกชีของทวีปเอเชียใช้สะพานธรรมชาติ ข้ามช่องแคบแบริง เข้าสู่คาบสมุทร อลาสกาของทวีปอเมริกาเหนือแล้วไปอาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือแล้วเดินทางสู่ทวีปอเมริกาใต้ตามลำดับ ต่อมาชาวยุโรปเริ่มสำรวจทางทะเล คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส Christopher Columbus เป็นผู้จุดประกาย ให้ชาวยุโรปรู้จักดินแดนแห่งนี้และรู้จักดินแดนนี้มากยิ่งขึ้นจากการเขียนรายงานของ นักเดินเรือชื่อ อมริโกเวสปุคชี Americo Vespucci ทำให้ชาวยุโรปสนใจและเข้ามาจับจองดินแดนในทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ดังนี้
 ชาวสเปนครอบครองอาณานิคมในเขตอเมริกากลาง อเมริกาใต้และหมู่เกาะอินดีสตะวันตก
ชาวอังกฤษสามารถก่อตั้งอาณานิคมบริเวณรอบ ๆ อ่าวฮัดสันและชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ทางทิศตะวันออกของสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน
ชาวฝรั่งเศสจับจองดินแดนตอนกลางของอ่าวเม็กซิโกขึ้นไป ตลอดลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปี ทะเลสาบทั้ง 5 และชายฝั่งตะวันออกของแคนาดาเป็นอาณานิคมของตน ภายหลังดินแดนดังกล่าวตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ
 ชาวฮอนแลนด์ จับจองบริเวณปากแม่น้ำฮัดสัน และซื้อเกาะแมนฮัดตันจากชาวพื้นเมือง ภายหลังดินแดนดังกล่าวตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ
 เมื่อชาวยุโรปจับจองที่ทำมาหากินในทวีปอเมริกาแล้วขาดแรงงานก็ได้มีการซื้อ ชาวผิวดำ จากทวีปอัฟริกามาเป็นทาส ใช้เป็นแรงงานในฟาร์มของตน เมื่อผู้นำของประเทศประกาศให้มีการเลิกทาส ชาวผิวดำจึงกลายเป็นประชากรของทวีปนี้           นอกจากนี้ยังมีการอพยพจากชาวเอเชียเข้าไปทำมาหากินในทวีปอเมริกาเหนือเช่น ชาวจีน ชาวไทย ลาว เขมร ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยของทวีปนี้
จากภูมิหลังทางประวัติศาสตร์พอสรุปได้ว่าประชากรของทวีปอเมริกาเหนือแบ่งเชื้อชาติได้ดังนี้
เชื้อชาติหลัก Race
         1. ผิวเหลือง Mongoloids
         2. ผิวขาว Caucasoids
         3. ผิวดำ Negroids
เชื้อชาติผสม Subrace
         1. เมสติโซ Mestizos
         2. มูแลตโต Mulattos
         3. แซมโป Zambos
         ประชากรชาวผิวเหลือง Mongoloids ในทวีปอเมริกาเหนือเป็นประชากรดั่งเดิมพวกอินเดียนแดง American Indian ที่สร้างอารยธรรมไว้แถบอเมริกากลาง บริเวณประเทศกัวเตมาลา บริติชฮอนดูรัส เอลซัลวาดอร์ และฮอนดูรัส เรียกอารยธรรม มายา Mayas ส่วนบริเวณประเทศเม็กซิโก ก็มีชาวผิวเหลืองสร้างความเจริญไว้ เรียกอารยธรรม แอซเตก Aztecs          ประชากรผิวเหลืองพวกเอสกิโม Eakimo อพยพมาหลังชาวอินเดียนแดง American Indian ปัจจุบันอาศัยอยู่มาก บริเวณอากาศหนาว ทางตอนเหนือของทวีป
         ประชากรที่เป็นผิวเหลืองชาวเอเชียที่เข้าไปหลังจากที่ชาวยุโรปเข้าไปตั้งถิ่นฐานแล้วได้แก่ ชาวจีน ญี่ปุ่น ไทย ลาว เขมร ฟิลิปินส์ ฯลฯ ที่เข้าไปอาศัยอยู่เป็นชนกลุ่มน้อยกระจัดกระจายตามเมืองใหญ่ ๆ ในประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา ประเทศในกลุ่มอเมริกากลางและหมู่เกาะอินดีสตะวันตก
         ประชากรชาวผิวขาว Caucasoids ในทวีปอเมริกาเหนือเป็นประชากรที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน เมื่อมีการสำรวจทางทะเลและแสวงหาอาณานิคม แล้วอาศัยอยู่ในบริเวณที่ทำสงครามแย่งชิงดินแดน และจับจองระหว่างชาติยุโรปด้วยกัน ชาติใดมีชัยชนะก็จะสามารถจับจองและอพยพประชากรจากยุโรปเข้าไปตั้งถิ่นฐานได้ จากการศึกษาภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ ชาวยุโรปใต้เชื้อชาติ คอเคซอย์พวกเมดิเตอร์เรเนียน ที่เข้ามาอาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือเรียกว่า ลาตินอเมริกา เพราะถูกจับจองโดยสเปน ได้แก่ ประเทศเม็กซิโก ประเทศในกลุ่มอเมริกากลาง และหมู่เกาะอินดีสตะวันตก
เชื้อชาติ คอเคซอย์พวกนอร์ดิก ที่เข้ามาอาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ เรียกว่า แองโกลอเมริกา ซึ่งหมายถึง สหรัฐอเมริกาและแคนาดา
คอเคซอยด์ชาวฝรั่งเศส อาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ บริเวณตะวันออกของแคนาดา ในมณฑลควิเบก
          เมสติโซ Mestizos ประชากรที่เกิดจากสายเลือดผสมระหว่างชนพื้นเมืองกับชาวยุโรป (มองโกลอยด์+คอเคซอยด์) อาทิ พวกอินแดียนแดงกับสเปน อินเดียนแดงกับฝรั่งเศส เอสกิโมกับอังกฤษ
          มูแลตโต Mulattos ประชากรที่เกิดจากสายเลือดผสมระหว่างชาวผิวดำกับชาวยุโรป (นิกรอยด์+คอเคซอยด์)
          แซมโป Zambos ประชากรที่เกิดจากสายเลือดผสมระหว่างชาวผิวเหลืองกับชาวผิวดำ (นิกรอยด์+มองโกลอยด์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น